Psychological Safety หรือความปลอดภัยทางด้านจิตใจ คืออะไร และเพราะอะไรจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการเรียนรู้ นวัตกรรม และการเจริญเติบโตของบุคลากร ทีมงาน และความสำเร็จขององค์กร
ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ทั้งในต่างประเทศ และในประเทศไทย หันมาให้ความสำคัญในเรื่องนี้ แอคคอมกรุ๊ปได้รับความไว้วางใจจากทั้งองค์กรในประเทศ และในต่างประเทศ ให้ทำการประเมินระดับความปลอดภัยทางด้านจิตใจ และจัดกิจกรรมเรียนรู้ให้กับผู้บริหารและทีมงาน เพื่อเร่งสร้างวัฒนธรรมในด้านนี้
ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจก่อนนะคะว่า Psychological Safety คืออะไร และไม่ใช่อะไร
Psychological Safety ไม่ได้หมายถึง
การยินยอมกับผลงานที่ต่ำกว่าความคาดหวัง
อยากพูดอะไรก็พูด ไม่ต้องแคร์ใคร
แสดงอารมณ์ออกมาตามอำเภอใจ
หัวหน้ามอบหมายงาน และปล่อยปละละเลย
เสี่ยงทำอะไร โดยไม่คิดพิจารณาก่อน และหวังว่าผลที่ออกมาจะดีเลิศ
การทำงานที่ปราศจากความไม่สบายใจทั้งปวง
Psychological Safety หมายถึง
การสร้างพื้นที่หรือสร้างบรรยากาศในการทำงานที่ส่งเสริมให้เกิดการสื่อสารที่ตรงไป ตรงมา เปิดเผย
บรรยากาศที่คนรู้สึกปลอดภัยมากพอที่จะกล้าแสดงความคิดเห็น กล้าถาม และเสนอไอเดีย
บรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้ออำนวยให้คนกล้าเรียนรู้เรื่องใหม่ ๆ ทดลองฝึกปฏิบัติ โดยไม่ต้องกังวลกับการถูกตำหนิ หรือทำให้ขายหน้าหากมีความผิดพลาด
Psychological Safety อันที่จริงแล้ว คือการเพิ่มพูนผลการปฏิบัติงาน (Maximize Performance) และการลดความกลัว (Minimize Fear)
ผู้นำทุกระดับ และของทีมต่าง ๆ ในองค์กร เป็นส่วนที่สำคัญในการสรรค์สร้างสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศที่ส่งเสริม Psychological Safety
ทีมวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับหัวข้อ ทีมงานที่มีประสิทธิผลสูงมีอะไรแตกต่างจากทีมงานทั่วไป ของบริษัทกูเกิล ภายใต้ชื่อโครงการแอริสตอเติล ได้พบกว่า Psychological Safety คือด่านแรก ของการปลดปล่อยปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศของทีมงาน หากไม่มี Psychological Safety ปัจจัยอื่น ๆ เช่น ความมุ่งมั่นในการทำงานให้ลุล่วง หรือการรับรู้ถึงการได้รับงานที่มีคุณค่า จะไม่เกิดผลใด ๆ ต่อประสิทธิผลของทีม
องค์กรและผู้นำในระดับต่างๆ สามารถสร้างความรู้สึกปลอดภัยด้านจิตใจให้กับทีมงานและองค์กรของตนได้อย่างไรนั้น มักต้องเริ่มด้วยการประเมินบรรยากาศในปัจจุบันก่อน และตั้งเป้าหมายในการพัฒนาไปด้วยกัน
Psychological Safety เป็นหนึ่งในวัฒนธรรมองค์กร และตัวเร่งผลด้านนวัตกรรม ที่ขาดไม่ได้ โดยเฉพาะในยุคที่เราต้องการความมีส่วนร่วมของคน และความร่วมมือระหว่างทีมที่ปราศจาก Silo-mindset ความคล่องแคล่วต่อการเปลี่ยนแปลง และความกล้าหาญที่จะแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ความกล้าคิดและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ที่ตอบสนองความคาดหวังของลูกค้า ที่จะนำมาซึ่งประโยชน์ต่อองค์กรโดยรวม
© AcComm Group
Comments