top of page
Writer's pictureAtchara Juicharern, Ph.D.

A Study of "Creating Coaching Culture" in Thailand - การสร้างวัฒนธรรมการโค้ชในองค์กร

Updated: Jun 25, 2022


การอำนวยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ทันกาล องค์กรจำเป็นต้องมีโครงสร้างและวัฒนธรรมองค์กรที่เสริมความคล่องตัวในการเปลี่ยนแปลง และผู้บริหารและผู้จัดการ จำเป็นต้องมีทักษะและเครื่องมือในการพัฒนาคนเข้าสู่เส้นทางการเปลี่ยนแปลงที่ทันกาล การสร้างการมีส่วนร่วมและแรงจูงใจ การสร้างความเข้าใจไปสู่ทิศทางเดียวกัน (Alignment) คุณสมบัติเหล่านี้เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้

ในอดีตเราอาจใช้การโค้ชผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อยกระดับผลงานหรือเพื่อวางแผนอาชีพให้เขาเท่านั้น แต่การโค้ชเพียงเพื่อวัตถุประสงค์เหล่านั้นไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว

การสนทนาแบบโค้ชของหัวหน้ากับลูกน้องจำเป็นต้องเกิดขึ้นเสมอๆ เรียกว่าอยู่ในวัฒนธรรมองค์กรกันเลยทีเดียว เพื่อช่วยสร้างกลไกให้คนเกิดความเข้าใจ และประสานพลังไปสู่ทิศทางการเปลี่ยนแปลงอย่างสอดคล้องกัน

ผู้บริหารจำเป็นต้องใช้ทักษะการโค้ชได้ทันทีที่จำเป็นในแต่ละวัน ทักษะนั้นต้องช่วยหยัดเวลา สร้างทัศนคติและความคล่องตัวในการเรียนรู้ (Learning Agility) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผล

ในช่วงเดือนตุลาคม 2559 ถึงเดือนพฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ บริษัทแอคคอมแอนด์อิมเมจ อินเตอร์เนชั่นแนล (AcComm and Image International) ได้รับความร่วมมือจากองค์กรธุรกิจ 50 แห่ง ในการศึกษาสถานะในปัจจุบัน และปัจจัยสำคัญของการสร้างวัฒนธรรมการโค้ชในองค์กร

องค์กรดังกล่าวมาจาก 20 ธุรกิจที่แตกต่างกัน เช่น สายการบิน ธนาคาร เคมีภัณฑ์ ประกันภัย อีเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ เครื่องดื่มและอาหาร การสื่อสารโทรคมนาคม อสังหาริมทรัพย์ สุขภาพ การสื่อสารโทรคมนาคม เป็นต้น โดยการใช้แบบสำรวจความคิดเห็น มีการร่วมให้ข้อมูลโดยผู้บริหารสามร้อยท่าน การศึกษานี้มุ่งไปที่ผู้ที่ได้รับการพัฒนาทักษะด้านการโค้ชแล้ว และมีความเข้าใจชัดเจนแล้วว่า การโค้ชไม่เหมือนการสั่งสอน และไม่เหมือนการบอก หรือการกำหนดให้ทำ และไม่ใช่การตามงาน เพื่อให้แน่ใจว่า การศึกษานี้ระบุไปที่วัฒนธรรมการโค้ชเท่านั้น

ผลของการศึกษาเบื้องต้นนี้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจหลายด้าน จากปัจจัยสำคัญเก้าข้อที่ช่วยก่อร่างสร้างวัฒนธรรมการโค้ช ข้อที่มีแนวโน้มที่ดีในปัจจุบันคือ (Figure 1.1)

Figure 1.1.

  • 80% ของผู้ให้ข้อมูลเห็นด้วยว่า คนในองค์กรของเขามีความเชื่อไปในทางเดียวกัน ว่าการโค้ชสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรทั้งระยะสั้นและระยะยาว

  • 76% ของผู้ให้ข้อมูล เห็นด้วยว่าองค์กรกำลังส่งเสริมให้เกิดการโค้ชที่ถูกต้องและเชื่อมโยงการโค้ชกับวัฒนธรรมองค์กร

  • 53% ของผู้ให้ข้อมูล เห็นด้วยว่าองค์กรลงทุนในการพัฒนาและอบรมทักษะการโค้ชให้ผู้บริหารและผู้จัดการในองค์กร

สำหรับปัจจัยที่ยังเป็นอุปสรรคอยู่เช่น

  • เพียง 35% ที่เห็นได้ชัดว่า มีการระบุผู้รับผิดชอบในการสานต่อวัฒนธรรมการโค้ช

  • เพียง 32% ที่เห็นได้ชัดว่า เรามีการสื่อสารด้านการโค้ชเพียงพอในองค์กร

  • เพียง 28% ที่เห็นได้ชัดว่า เขาได้รับการสนับสนุนจากหัวหน้าของเขาเองให้มีการโค้ชอย่างต่อเนื่อง เช่น มีตัวอย่างที่ดี และได้รับการชมเชยเมื่อเขาโค้ชผู้ใต้บังคับบัญชาได้สำเร็จ

ในด้านการอบรมทักษะการโค้ช ประมาณ 64% เคยได้รับการอบรม 1-3 วัน จากองค์กรปัจจุบันที่ทำงานอยู่ มากที่สุดคือ 6 วัน ซึ่งมีเพียง 28%

ในด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการเรียนรู้ทักษะการโค้ช ผู้ให้ข้อมูลระบุว่า ปัจจัยที่สำคัญเป็นอันดับแรกคือ ผู้สอนทักษะการโค้ช (Instructor) รองลงมาคือความมุ่งมั่นของตนเอง ตามด้วยการเรียนการสอนที่ทำให้เขานำไปปฏิบัติได้จริง

Figure 1.2.

สำหรับปัจจัยที่จะช่วยให้ผู้นำ และผู้จัดการในองค์กรใช้การโค้ชอย่างต่อเนื่อง หรือรักษาวัฒนธรรมการโค้ชไว้ ปัจจัยอันดับหนึ่งคือ การได้รับทิศทางและการสื่อสารที่ชัดเจนจากผู้บริหารระดับสูง และความมุ่งมั่นของผู้บริหารและผู้จัดการที่ทำหน้าที่โค้ช และอันดับสองคือได้รับการส่งเสริมด้านทักษะการโค้ชที่เพียงพอ (Figure 1.2)

วัฒนธรรมการโค้ชในองค์กรเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่จะเตรียมความพร้อมและส่งเสริมให้องค์กรก้าวไปกับการเปลี่ยนแปลงเชิงรุก ได้ทั้งสามระดับ คือระดับกระบวนการในองค์กร (Process) ระดับทีม (Team) และระดับบุคคล (Individual)

ติดตามขั้นตอนการสร้างวัฒนธรรมการโค้ชในองค์กรได้จากหนังสือ คู่มือการโค้ชเพื่อผู้นำยุคใหม่

©Copyright - All rights reserved.

About the author; Atchara (Cara) Juicharern is a winner of Woman Leadership Award and an accomplished leadership and executive coach who has been also developing executives and leaders in the organizations to be successful in coaching. She has trained thousands of executives and leaders from all types of business industries.

With her passion to support leaders and organizations to be successful in creating coaching and mentoring cultures, she also conducts significant coaching studies. She is frequently invited to speak about the coaching trends and the future of coaching in various leadership and HR forums.

Her best-selling book "Leader as Coach" is the first Thai language book that brings practical and simplified coaching methods and conversation to leaders and has received a foreword by the world number 1 Coaching Guru and Thought Leader - Dr. Marshall Goldsmith.

Contact us: +662 197 4588-9

Email: info@aclc-asia.com

www.aclc-asia.com

******************************

464 views
bottom of page